ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ : นางสาวพิกุล สมัครไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนสมัยล้านช้างบริเวณพื้นที่ระหว่างลุ่มน้ำเลยและห้วยน้ำโมง ช่วง พ.ศ.1896 - พ.ศ.2322” (Cultural Development of Ancient Lan Xang Settlement At the Area Between Meanam Loei - Huai Nam Mong During A.D. 1353 - 1779) โดย นางสาวพิกุล สมัครไทย ในวันพุธที่ 18 ธันวาคม 2562 เวลา 09.30 น. ณ ห้อง 5 c3 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอแสดงความยินดีกับ Miss Min Shi ที่สอบผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

หลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษาขอแสดงความยินดีกับนางสาวหมิ่น ซือ (Min Shi) ในโอกาสสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ผ่านในระดับ “ดี” เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00 น. ณ ห้อง HS1-5-C3 นางสาวหมิ่น ซือได้เข้ารับการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พลวัตของเส้นทางโบราณ “ชา-ม้า” ในตำบลยูนนานยี่อำเภอเฉียงหยูน เขตปกครองตนเองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

นักศึกษาสาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษาเข้าร่วมโครงการรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ครั้งที่ 1/2562

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ห้องประชุม HS1-5-A3 เวลา 9.00 - 15.00 น. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ได้จัดโครงการรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ครั้งที่ 1/2562 ขึ้น สำหรับนักศึกษาในสาขาวิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาได้นำเสนอความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงทั้งจากภายในและภายนอกคณะ นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาภายในหลักสูตรได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการระหว่างกันอีกด้วย

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 15

นักศึกษาสาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 15  (The 15th International Conference on Humanities and Social Science (ICHUSO 2019)) ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2562 โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษาจำนวน 4 คนได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการประเภทบทความวิจัยจำนวน 3 เรื่อง


ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ของ Miss Min Shi

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เรื่อง พลวัตของเส้นทางโบราณ “ชา-ม้า”  ในตำบลยูนนานยี่ อำเภอเฉียงหยูน  เขตปกครองตนเองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน (The Dynamics of the Ancient Tea Horse Road in Yunnanyi Town, Xiang Yun County,  Dali Bai Autonomous Prefecture, Yunnan Province) โดย Miss Min Shi ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 น. ณ ห้อง HS1-5-C3 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอแสดงความยินดีกับ Miss HuanLi Xu ที่สอบผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

วันที่ 28 ตุลาคม 2562 ณ ห้อง 5-C3 อาคารรัตนพิทยา นางสาว HuanLi Xu นักศึกษาสาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ได้เข้ารับการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับ “เจิ้งเหอ” ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ค.ศ.1978 - 2019 จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสองท่าน ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.มณีมัย ทองอยู่ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ และศาสตราจารย์ สุวิทย์ ธีรศาสวัต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีรศ.ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และอาจารย์ ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

คืนนี้มี "ดาว" งานเลี้ยงเกษียณอายุราชการ รศ.ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ลุ่มแม่น้ำโขง ร่วมกับ สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา และหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดงานเกษียณอายุราชการ รองศาสตราจารย์ ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ในงาน 36 ปีสตรีแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งหลังจากเสร็จงานเสวนาในช่วงบ่ายแล้ว ในช่วงเย็นยังมีกิจกรรม บายศรีสู่ขวัญ และการแสดงต่างๆ รวมทั้งรับประทานอาหารร่วมกัน มีคณาจารย์ นำโดยคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบ้นเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

รายงานโดย ชนภัทร ใชยเม็ง

โครงการเสวนาวิชาการ 36 ปีสตรีแห่งประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง ร่วมกับ หลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา และหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม "โครงการเสวนาวิชาการ 36 ปีสตรีแห่งประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม 4 A1 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและลุ่มน้ำโขงศึกษาในอดีต-ปัจจุบัน โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดรวม 144 คน

ภาพโดย กฤษณะ เวทีวุฒาจารย์

นักศึกษาลุ่มน้ำโขงศึกษา มข. เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานในโครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13

ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2562 นักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 “ภูมิภาคนิยม และท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ ในโลกไร้พรมแดน” (New Regionalism and Localism in the Borderless World) ซึ่งเป็นการร่วมจัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีนักศึกษาในหลักสูตรฯ เข้าร่วมทั้งสิ้น 9 คน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา


โครงการบรรยายพิเศษด้านพม่าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2562 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ร่วมกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการบรรยายพิเศษด้านพม่าศึกษาสองหัวข้อ คือ “ความจำข้ามพรมแดน: อองซานกับการกลายเป็นความทรงจำ​​​ร่วมของชาวพม่าในจังหวัดระนอง” และ “รู้เขา รู้เรา รู้ใคร : ความรู้ และความเป็นสมัยใหม่ใน​​​​วรรณกรรมการเดินทางพม่ายุคหลังอาณานิคม” ณ ห้องประชุม 2 อาคาร HS05 โดยมีวิทยากรที่ให้เกียรติมาบรรยายครั้งนี้สองท่าน คือ อาจารย์ขวัญข้าว สังขพันธานนท์ และอาจารย์กฤษณะ โชติสุทธิ์ จากสาขาวิชาพม่าศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร การบรรยายพิเศษครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้ และต่อยอดประเด็นศึกษาที่น่าสนใจ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านพม่าศึกษาให้กับนักศึกษาในหลักสูตรฯ และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังทั้งหมด 80 คน

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

กิจกรรมวันไหว้ครูคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข ประจำปีการศึกษา 2562

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยงานพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ได้จัดพิธีไหว้ครูขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562  ณ อาคารรัตนพิทยา ชั้น 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา โดยเฉพาะการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ ความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ และยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษาในการเริ่มต้นการศึกษาเล่าเรียนในปีการศึกษาใหม่นี้

รายงานโดย เกวลิน พรพงษ์ และ 

การตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2561

อาจารย์และนักศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาลุ่มน้ำโขงศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อตรวจประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2561 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารรัตนพิทยา

โครงการรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 ณ ห้อง 5-A3 อาคารรัตนพิทยา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการนำเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2561 ซึ่งครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่สอง กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรได้นำเสนอเนื้อหาวิทยานิพนธ์ต่อคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และภายนอก ตลอดจนเพื่อน ๆ นักศึกษาด้วยกันได้ทราบถึงรายละเอียดความก้าวหน้าในประเด็นต่างๆ ที่ได้เพิ่มเติมในรอบหนึ่งปีการศึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาวิทยานิพนธ์ตามคำแนะนำของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเพื่อนนักศึกษาอีกด้วย

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอแสดงความยินดีกับ นายสมชาติ ศรีมารัตน์ ที่สอบผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษาขอแสดงความยินดีกับนายสมชาติ ศรีมารัตน์ ที่ได้รับการอนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เรื่อง "ปฏิบัติการของหมอลำเพลินคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงในบริบทอุตสาหกรรมวัฒนธรรม" จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ : นายสมชาติ ศรีมารัตน์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของ นายสมชาติ ศรีมารัตน์ ในชื่อเรื่อง “กระบวนการต่อรองและปฏิบัติการของหมอลำเพลินคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงในโครงสร้างอุตสาหกรรมวัฒนธรรม” ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 เวลา 9.00- 12.00 น. สถานที่ : อาคารรัตนพิทยา ห้อง 5-A3โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสองท่านในการให้ข้อคิดเห็น คือ อาจารย์ ดร.รักชนก ชำนาญมาก เป็นประธานกรรมการสอบ และอาจารย์ ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง เป็นกรรมการในการสอบ สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ อาจารย์ ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์

ทางหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษาก็ขอเอาใจช่วยให้สอบผ่านด้วยดีและประสบความสำเร็จนะครับ

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอแสดงความยินดีกับ นายพิษณุวัฒน์ ยาพรม ที่สอบผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษาขอแสดงความยินดีกับนายพิษณุวัฒน์ ยาพรม ที่ได้รับการอนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์เรื่อง การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม (พ.ศ. 2534-2562) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอแสดงความยินดีกับ Miss Wei Fan ที่สอบผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษาขอแสดงความยินดีกับนางสาว Wei Fan  ที่ได้รับการอนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายใต้โครงการสถาบันขงจื้อในประเทศไทย (ค.ศ. 2006 – 2018) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ : นายพิษณุวัฒน์ ยาพรม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม (พ.ศ. 2534-2562)” ของ นายพิษณุวัฒน์ ยาพรม โดยมีประธานในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ คือ ศาสตราจารย์ สุวิทย์ ธีรศาศวัต รองศาสตราจารย์ ดร.มณีมัย ทองอยู่ เป็นกรรมการ และรองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผศ.ดร.เบญจวรรณ นาราสัจจ์ เป็นที่ปรึกษาร่วม การนำเสนอจะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 เวลา13.00 น. - 16.00 น. ณ ห้อง HS1-5-C3 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทางหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษาก็ขอเอาใจช่วยให้สอบผ่านด้วยดีและประสบความสำเร็จนะครับ

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

ขอเชิญเข้าร่วมรับฟัง การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ : นางสาว Wei Fan

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายใต้โครงการสถาบันขงจื้อในประเทศไทย (ค.ศ. 2006 – 2018)” ของ นางสาว Wei Fan โดยมีประธานในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ คือ อาจารย์ ดร.จักรพันธุ์ ขัดชุ่มแสง และอาจารย์ ดร.รักชนก ชำนาญมาก เป็นกรรมการ ผศ.ดร.กีรติพร จูตะวิริยะ ที่ปรึกษาหลัก และผศ.ดร.เบญวรรณ นาราสัจจ์ เป็นที่ปรึกษาร่วม การนำเสนอจะมีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2562 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้อง HS1-5-C3 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทางหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษาก็ขอเอาใจช่วยให้สอบผ่านด้วยดีและประสบความสำเร็จนะครับ

รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Microsoft Access

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Microsoft Access จัดขึ้นที่อาคาร HS.05 ห้อง 5209 ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 08:30 – 16:15 น.  สำหรับนักศึกษาปริญญาโท ของหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 6 คน โปรแกรม Microsoft Access เป็นโปรแกรมหนึ่งในกลุ่มของ Microsoft Office ใช้สำหรับจัดระบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างแบบสอบถามได้ง่าย สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ก็ได้

จิตอาสาร่วมบุญทำโรงทานถวายแด่หลวงพ่อคูณและครูใหญ่ทุกท่าน

วันที่ 26 มกราคม 2562 ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดพื้นที่สำหรับจิตอาสาตั้งโรงทานภายในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อคูณ และครูใหญ่ทุกท่าน ณ บริเวณบึงศรีฐาน ใกล้กับหอประชุมกาญจนาภิเษก ทั้งนี้คณาจารย์และนักศึกษาของหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา และหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้รวบรวมงบประมาณ เพื่อจัดทำโรงทานมหากุศลนี้ โดยแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และขนม สำหรับผู้ที่มาเข้าร่วมวางดอกไม้จันทน์ รวมถึงผู้ที่สัญจรไปมาด้วย


รวมบทความชาวลุ่มน้ำโขงศึกษา ประจำปี 2560

Negotiations, Everyday Life Practices and Power in a Thai-Cambodian Border Market: A Case Study of Cambodian Cart Carriers in Rong Kluar Market, Aranyaprathet District, Sa Kaeo Province
Kanuengnit Promanus, Patcharin Lapanun

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตประจำวันของแรงงานชาวกัมพูชาที่ประกอบอาชีพเข็นรถรับจ้างขนสินค้าจากตลาดชายแดนข้ามไปยังฝั่งกัมพูชาโดยใช้แนวคิดเรื่องปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของ Michel De Certeau เป็นกรอบในการวิเคราะห์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การประกอบอาชีพเข็นรถรับจ้างขนสินค้าข้ามแดนของชาวกัมพูชา ภายใต้ระบบการค้าข้ามแดนในยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้สะท้อนว่า เส้นพรมแดนพร่าเลือนหรืออำนาจรัฐในพื้นที่ชายแดนลดลงแต่อย่างใด ในทางตรงข้ามอำนาจทั้งรัฐและทุนในพื้นที่ชายแดนกลับมีความหลากหลายและเข้มข้นขึ้น อำนาจปรากฏผ่านระเบียบกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการข้ามแดนและการจัดการการค้าชายแดน ในขณะเดียวกันคนเข็นรถรับจ้างไม่ได้ยอมต่ออำนาจอย่างสิ้นเชิง แต่กลับมีปฏิบัติการต่อรองในลักษณะต่างๆ รวมทั้งการฉวยใช้จังหวะและโอกาสเพื่อประโยชน์แก่ตน การวิเคราะห์ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันตามแนวคิดของมิเชล เดอ เซอร์โต มักให้ความสำคัญกับ “ยุทธศาสตร์” รัฐ และปฏิบัติการในระดับปัจเจก อย่างไรก็ตามชีวิตประจำวันของคนเข็นรถรับจ้าง มีการต่อรองกับอำนาจทั้งรัฐและทุน และแม้ปฏิบัติการในระดับปัจเจกมีหลากหลายรูปแบบ แต่ภายใต้บริบทที่ปฏิบัติการในระดับปัจเจกไม่ใช่ “กลยุทธ์” ที่สามารถจัดการสถานการณ์และปัญหาในชีวิตประจำวันได้คนเข็นรถเลือกใช้การต่อรองในระดับกลุ่มผ่านการรวมตัวชุมนุมประท้วง บทความนี้นำมาสู่ข้อเสนอว่า กรอบการวิเคราะห์ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันต้องคำนึงถึงความหลากหลายของอำนาจ และระดับในการวิเคราะห์ต้องสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาไม่จำกัดอยู่เฉพาะระดับปัจเจกและอำนาจรัฐเพียงเท่านั้น

(เข้าไปดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่นี่)

รวมบทความชาวลุ่มน้ำโขงศึกษา ประจำปี 2561

การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์:  อัตลักษณ์ชาติพันธุ์มอญและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ 
โดย ภควดี ทองชมภูนุช และ พัชรินทร์ ลาภานันท์
ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศำสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ในชุมชนมอญ โดยวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดและข้อถกเถียงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ที่มองการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับมิติเศรษฐกิจและอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาภาคสนามที่หมู่บ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2557-2558 ผลการศึกษาพบว่า ชาวมอญวังกะอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2491 สาเหตุหลักมาจากสถานการณ์สู้รบระหว่างกองทัพทหารพม่ากับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวมอญพลัดถิ่นให้ความสำคัญกับการรักษาประเพณี สถาปัตยกรรมและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มอญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ภาครัฐส่งเสริมหมู่บ้านวังกะให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางชาติพันธุ์ มีจุดเด่นคือ วัฒนธรรมมอญ "แบบดั้งเดิม" ซึ่งได้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชาวมอญ ในบริบทนี้คนวังกะนำเสนออัตลักษณ์มอญผ่านการประกอบสร้างเพื่อตอบสนองความคาดหวังของนักท่องเที่ยวและการคงไว้ซึ่งประเพณีดั้งเดิม เพื่อรักษาความหมายและคุณค่าทางวัฒนธรรมได้กลายเป็น "จุดขาย" ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว จากประสบการณ์ของชาววังกะ การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ได้สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจควบคู่การธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์

(เข้าไปดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่นี่)