รายละเอียดหลักสูตร

Mekong Studies | 9:34 AM | Be the first to comment!
ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย              
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา

ภาษาอังกฤษ
Master of Arts Program in Mekong Studies

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย              
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ลุ่มน้ำโขงศึกษา)
ศศ.ม. (ลุ่มน้ำโขงศึกษา)

ภาษาอังกฤษ
Master of Art (Mekong Studies)
M.A. (Mekong Studies)

หน่วยงานรับผิดชอบ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา  มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิจัย  คิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ  ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นหลักสูตรเชิงประยุกต์ที่เน้นการวิจัยข้ามวัฒนธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านชาติพันธุ์  ประวัติศาสตร์  ภาษาและวรรณกรรม  ปรัชญาและศาสนาในลุ่มน้ำโขง  เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนในลุ่มน้ำโขง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านชาติพันธุ์  ประวัติศาสตร์  ภาษาและวรรณกรรม  ปรัชญาและศาสนาในลุ่มน้ำโขง
  2. มีความสามารถในการวิจัย  คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ  เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสังคมวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง  อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
  3. มีคุณธรรมและจริยธรรม  จรรยาบรรณนักวิจัยและความเข้าใจในความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรม

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษาเป็นหลักสูตรเชิงประยุกต์ที่เน้นการวิจัยข้ามวัฒนธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านชาติพันธุ์  ประวัติศาสตร์  ภาษาและวรรณกรรม  ปรัชญาและศาสนา  เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อพื้นที่ลุ่มน้ำโขง  ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญด้านยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศและนานาชาติ  โดยให้ความสำคัญกับประเด็นความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

  1. นักศึกษาต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548  
  2. นักศึกษาไทยต้องเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งของประเทศลุ่มน้ำโขง (ที่ไม่ใช่ภาษาไทย) โดยไม่คิดหน่วยกิต อย่างน้อย 2 วิชา   หรือเคยผ่านการลงทะเบียนเรียนภาษาของประเทศ   ลุ่มน้ำโขง อย่างน้อย 2 วิชา   หรือผ่านการอบรม ไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมง   ส่วนนักศึกษาที่เป็นชาวต่างชาติต้องผ่านการเตรียมความพร้อมด้านภาษาไทยไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง      
โครงสร้างหลักสูตร

แผน  ก   
1.  วิชาบังคับ          15    
2.  วิชาเลือก 9
3.  การศึกษาอิสระ   -
4.  วิทยานิพนธ์       12
      รวมจำนวนหน่วยกิต 36

หมวดวิชาบังคับ  15  หน่วยกิต

1.  พัฒนาการเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองในประเทศลุ่มน้ำโขง
2.  ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
3.  แนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับลุ่มน้ำโขงศึกษา
4.  ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับลุ่มน้ำโขงศึกษา
5.  สัมมนาลุ่มน้ำโขงศึกษา

หมวดวิชาเลือก  9  หน่วยกิต

1. โลกาภิวัตน์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขง
2.  ภูมิทัศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
3.  ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในลุ่มน้ำโขง
4.  ชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขง
5.  วรรณกรรมกับสังคมลุ่มน้ำโขง
6.  คติชนวิทยาลุ่มน้ำโขง
7.  ปรัชญาในสังคมลุ่มน้ำโขง
8.  ศาสนาและความเชื่อในสังคมลุ่มน้ำโขง
9.  ประเด็นปัจจุบันในลุ่มน้ำโขง

การศึกษาอิสระ  3  หน่วยกิต

มุ่งให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์ในประเด็นปัญหาที่เฉพาะ  และประเด็นปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ

วิทยานิพนธ์  12  หน่วยกิต

มุ่งให้นักศึกษาทำงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนในลุ่มน้ำโขง

ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร

ระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาลุ่มน้ำโขงศึกษา ได้จัดแผนการเรียนให้สำเร็จได้เร็วที่สุดภายใน 2ปี  แต่ไม่เกิน  5 ปีการศึกษา  ซึ่งเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย  การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผศ. ดร. ธนนันท์ บุ่นวรรณา
(โทร. 08-3693-5655 :: e-mail: thanabo@kku.ac.th)

ผศ. ดร. กีรติพร จูตะวิริยะ 
(โทร. 08-3142-2713 :: e-mail: keersr@kku.ac.th)

อาจารย์ ดร.ณัฐหทัย มานาดี
(โทร. 09-8632-5544 :: e-mail: nathama@kku.ac.th)


No comments:

Post a Comment