ขอแสดงความยินดีกับ Miss Xu HuanLi ในโอกาสที่สอบผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ขอแสดงความยินดีกับ Miss Xu HuanLi ในโอกาสสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ผ่านในระดับดี เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง HS1-5-C3 ชั้น 5 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น





เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564  Miss Xu HuanLi ได้เข้ารับการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เรื่อง "การสร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอ ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ค.ศ. 1978-2019" ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ ธีรศาศวัต ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง เป็นกรรมการสอบ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และอาจารย์ ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนนันท์ บุ่นวรรณา และ อาจารย์ ดร.มนต์ชัย ผ่องศิริ เข้าร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะด้วย


วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอ รวมถึงการสร้างแหล่งความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอในมณฑลยูนนาน ช่วงปี ค.ศ. 1978-2019 โดยใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ (Historic Approach) จากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชากาาร รวมไปถึงการเก็บข้อมูลภาคสนาม 
ผลการศึกษาพบว่า ประเทศจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานในด้านการสร้างเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล เจิ้งเหอเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การเดินทางทะเล และ เจิ้งเหอ เกิดที่หมู่บ้านเหอไต้ ตำบลเป๋าซาน เมืองคุนหยาง เขตจิ้นหนิงเป็นส่วนหนึ่งของเมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มณฑลยูนนานมีดินแดนและแม่น้ำนานาชาติ 4 สายเชื่อโยงกับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ยูนนานมีความสำคัญในการร่วมมือกับภูมิภาคนี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ตามแนวทางของเจิ้งเหอและวัฒนธรรมเจิ้งเหอให้เป็นประโยชน์ หลังจาก ค.ศ. 1978 ประเทศจีนเน้นเปิดประเทศ และเพื่อระลึกความยิ่งใหญ่ของเจิ้งเหอนำกองเรือขนาดใหญ่ไปสำรวจทะเลตะวันตก โดย แบ่งการศึกษาเป็นสองช่วง ดังนี้ 
(1) ช่วง ค.ศ.1978-2000  การสร้างแหล่งความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอในเขตเมืองจิ้นหนิง มี 4 แหล่ง คือ 1) สวนสาธารณะเจิ้งเหอ เขตจิ้นหนิง 2) ถนนที่มีชื่อที่เกี่ยวกับเจิ้งเหอ 3) กิจกรรมเฉลิมฉลอง และ 4) สมาคมการศึกษาเจิ้งเหอ และ สร้างให้มีความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอเพื่อให้เห็นว่า 1) เจิ้งเหอเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ทางทะเล 2) รัฐบาลท้องถิ่นพยายามเชื่อมโยงระหว่างเขตจิ้นหนิงกับเจิ้งเหอโดยผ่านสายใยวงศ์ตระกูลและบ้านของเจิ้งเหอ 3) วัฒนธรรมเจิ้งเหอมีความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาท้องถิ่น 4) เจิ้งเหอเป็นผู้ที่มีความรักชาติ 5) การศึกษาเจิ้งเหอสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาการศึกษาของเขตจิ้นหนิง และ 
(2) ช่วง ค.ศ.2001-2019 การสร้างแหล่งความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอในเขตเมืองจิ้นหนิงม มี 9 แหล่ง คือ 1)  สมาคมการศึกษาเจิ้งเหอแห่งมณฑลยูนนาน 2) อนุสาวรีย์การเดินทางทะเล 3) สนามวัฒนธรรมเจิ้งเหอ เขตจิ้นหนิง 4) ป่ามิตรภาพระหว่างประเล 5) ห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการดวงตราไปรษณียากรเกี่ยวกับเจิ้งเหอและการเดินเรือทั่วโลก 6) หออนุสรณ์เจิ้งเหอ (ใหม่) หรือ พิพิธภัณฑ์เขตจิ้นหนิง 7) หนังสือเรื่องราวการเดินทางของเจิ้งเหอที่ตีพิมพ์ในมณฑลยูนนาน 8) แบบเรียน 9) ฐานวิจัยเจิ้งเหอในวิทยาลัย Yunnan traffic technician college
            โดยแหล่งความทรงจำทั้งหมดได้สร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอในประเด็นต่างๆ  ดังต่อไปนี้ 1) ย้ำให้เห็นว่าเจิ้งเหอเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่จากการสำรวจทางทะเล 2) ย้ำกำเนิดเจิ้งเหอว่าเป็นชาวยูนนาน 3) ย้ำเจิ้งเหอกับการพัฒนาท้องถิ่น 4) ย้ำการศึกษาเจิ้งเหอมีความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาการศึกษาของเขตจิ้นหนิง และแสดงให้เห็น 5) ประเทศจีนได้มีการเปิดพื้นที่ให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์หุย
            งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะต่อการวิจัยต่อไป คือ ควรที่จะได้มีการศึกษางานเขียนเกี่ยวกับเจิ้งเหอในเอกสารต่างประเทศ ส่วนการศึกษาในประเทศจีนควรที่จะมีการศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับการสร้างความทรงจำร่วมเกี่ยวกับเจิ้งเหอในเมืองนานกิง ปักกิ่งและฉวนโจว เป็นต้น







ผศ.ดร. จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
ศ.ดร. สุวิทย์ ธีรศาศวัต

รศ.ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์
อาจารย์ ดร. แก้วตา จันทรานุสรณ์

อาจารย์ ดร. มนต์ชัย ผ่องศิริ


























No comments:

Post a Comment