ขอแสดงความยินดีกับ นายพิษณุวัฒน์ ยาพรม ที่สอบผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์



หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาลุ่มน้ำโขงศึกษา ขอแสดงความยินดีกับนายพิษณุวัฒน์ ยาพรม ในโอกาสสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ผ่านในระดับดี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง 5C-3 ชั้น 5 อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

รายงานโดย ปิติพัฒน์ โชติกมลสวัสดิ์
ข้อมูลวิทยานิพนธ์ โดย พิษณุวัฒน์ ยาพรม

เมื่อวันจันทร์ ที่ 2 สิงหาคม 2564  นายพิษณุวัฒน์ ยาพรม ได้เข้ารับการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เรื่อง "การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม" โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.    สุวิทย์ ธีรศาศวัต เป็นประธานกรรมการสอบและผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ ดร.เวียงคำ ชวนอุดม เป็นกรรมการสอบ รองศาสตราจารย์ ดร. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจวรรณ นาราสัจจ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม นอกจากนี้ยังมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนนันท์ บุ่นวรรณา และ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักพันธ์ ขัดชุมแสง เข้าร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะด้วย 


วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ต้องการเผยให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งของการจัดการชายแดนผ่านโบราณสถาน (ปราสาทเขมร) อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงผู้คนสองฝากฝั่งชายแดนเข้าไว้ด้วยกัน โดยปราสาทสด๊กก๊อกธมถูกจัดตั้งให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ แห่งที่ 11 ของประเทศไทยในปี 2560 ตั้งอยู่ห่างจากเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาไม่กี่ร้อยเมตร มีความสำคัญอย่างมากทั้งในด้านประวัติศาสตร์และความมั่นคงเนื่องจากเป็นสถานที่แห่งบรมครู ต้นกำเนิดของความเชื่อเทวราชาที่ทรงอิทธิพลในเขมรและมีการค้นพบจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่มีการบันทึกลำดับกษัตริย์และพราหมณ์ประจำราชวงศ์เขมรไว้อย่างสมบูรณ์กว่า 2 ศตวรรษ นอกจากนี้ในช่วงสงครามสงครามกลางเมืองในกัมพูชา (2518-2522) ปราสาทแห่งนี้ยังเคยถูกใช้เป็นสถานที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวเขมรหลายหมื่นคน ซึ่งบริเวณโดยรอบก็เต็มไปด้วยทุ่นระเบิดและพื้นที่ทับซ้อนจำนวนมาก (ปัจุบันดำเนินการเก็บกู้เรียบร้อยแล้ว) ด้วยเหตุนี้ ปราสาทสด๊กก๊อกธมจึงเป็นพื้นที่พิเศษ อ่อนไหวและท้าทายการจัดการชายแดนของหน่วยงานรัฐไทย












นอกจากนี้ ว่าที่มหาบัณฑิตได้มีผลงานทางวิชาการ โดยได้รับการตีพิมพ์บทความในวารสารการเมืองการปกครอง (Journal of Politics and Governance) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2565 ในเรื่อง "การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชา ของรัฐไทยเหนื่อพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563: การย้ำสิทธิ การบูรณะและการพัฒนาเป็นแห่งท่องเที่ยว" อีกด้วย 



No comments:

Post a Comment