โครงการบริการวิชาการ "คติชนสร้างสรรค์: การตลาดเล่าเรื่องจากฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโบราณสถาน อโรคยาศาลกู่แก้ว

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สาขาลุ่มน้ำโขงศึกษา ร่วมกับสาขาภาษาไทย และศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมบริการวิชาการในโครงการ “คติชนสร้างสรรค์: การตลาดเล่าเรื่องจากฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโบราณสถาน อโรคยาศาลกู่แก้ว” ณ วัดกู่แก้วสามัคคี ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 

เรื่องและภาพโดย ผศ.ธนนันท์ บุ่นวรรณา

โดยมี ดร. แก้วตา จันทรานุสรณ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลฐานราก ทางสังคมวัฒนธรรมในชุมชนแหล่งโบราณคดีประเภท อโรคยาศาล สู่การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหาร รวมถึงบูรณาการความรู้สหวิชาและเสริมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในสถานการณ์  โรคระบาดโควิด 19 ตลอดจน เพื่อบูรณาการผลการศึกษากับ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคติชนวิทยา ของสาขาวิชาภาษาไทย และรายวิชาภาษากับวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงของสาขาลุ่มน้ำโขงศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายศุภชัย ลีเขาสูง นายอำเภอเมืองขอนแก่น เป็นประธานเปิดงาน โดยกิจกรรมในงานมีการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.เวียงคำ ชวนอุดม หัวหน้ากลุ่ม วิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของอโรคยาศาลกู่แก้วและโอกาสด้านการท่องเที่ยวแหล่งโบราณสถานในมุมมองของ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี” และคุณกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 8 จังหวัดขอนแก่น บรรยายเรื่อง “วิถีพระโพธิสัตว์กับคติความเชื่อว่าด้วย พระวัชรธร พระวัชรปาณี และพระยม ณ อโรคยาศาลกู่แก้ว” รวมถึงพระครูวุฒิธรรมาภิราม เจ้าอาวาสวัดกู่แก้วสามัคคี บรรยายเรื่อง “บุคลาธิษฐาน ตำนาน พระยาอนันตนาคราช ณ อโรคยาศาลกู่แก้ว” ตลอดจน รองศาสตราจารย์ ดร. รวี หาญเผชิญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายเรื่อง  “ขอนแก่นโมเดล : การพัฒนาเมืองจากฐานนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำ”








No comments:

Post a Comment