รวมบทความชาวลุ่มน้ำโขงศึกษา ประจำปี 2560

Negotiations, Everyday Life Practices and Power in a Thai-Cambodian Border Market: A Case Study of Cambodian Cart Carriers in Rong Kluar Market, Aranyaprathet District, Sa Kaeo Province
Kanuengnit Promanus, Patcharin Lapanun

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตประจำวันของแรงงานชาวกัมพูชาที่ประกอบอาชีพเข็นรถรับจ้างขนสินค้าจากตลาดชายแดนข้ามไปยังฝั่งกัมพูชาโดยใช้แนวคิดเรื่องปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของ Michel De Certeau เป็นกรอบในการวิเคราะห์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การประกอบอาชีพเข็นรถรับจ้างขนสินค้าข้ามแดนของชาวกัมพูชา ภายใต้ระบบการค้าข้ามแดนในยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้สะท้อนว่า เส้นพรมแดนพร่าเลือนหรืออำนาจรัฐในพื้นที่ชายแดนลดลงแต่อย่างใด ในทางตรงข้ามอำนาจทั้งรัฐและทุนในพื้นที่ชายแดนกลับมีความหลากหลายและเข้มข้นขึ้น อำนาจปรากฏผ่านระเบียบกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการข้ามแดนและการจัดการการค้าชายแดน ในขณะเดียวกันคนเข็นรถรับจ้างไม่ได้ยอมต่ออำนาจอย่างสิ้นเชิง แต่กลับมีปฏิบัติการต่อรองในลักษณะต่างๆ รวมทั้งการฉวยใช้จังหวะและโอกาสเพื่อประโยชน์แก่ตน การวิเคราะห์ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันตามแนวคิดของมิเชล เดอ เซอร์โต มักให้ความสำคัญกับ “ยุทธศาสตร์” รัฐ และปฏิบัติการในระดับปัจเจก อย่างไรก็ตามชีวิตประจำวันของคนเข็นรถรับจ้าง มีการต่อรองกับอำนาจทั้งรัฐและทุน และแม้ปฏิบัติการในระดับปัจเจกมีหลากหลายรูปแบบ แต่ภายใต้บริบทที่ปฏิบัติการในระดับปัจเจกไม่ใช่ “กลยุทธ์” ที่สามารถจัดการสถานการณ์และปัญหาในชีวิตประจำวันได้คนเข็นรถเลือกใช้การต่อรองในระดับกลุ่มผ่านการรวมตัวชุมนุมประท้วง บทความนี้นำมาสู่ข้อเสนอว่า กรอบการวิเคราะห์ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันต้องคำนึงถึงความหลากหลายของอำนาจ และระดับในการวิเคราะห์ต้องสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาไม่จำกัดอยู่เฉพาะระดับปัจเจกและอำนาจรัฐเพียงเท่านั้น

(เข้าไปดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่นี่)

No comments:

Post a Comment