ขอแสดงความยินดีกับ นายศิวิลาส มูลเหลา ที่สอบผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

หลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีกับ  นายศิวิลาส มูลเหลา ในโอกาสสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 เวลา 09:00-12:00 น. ห้อง HS1-5-C3 อาคารรัตนพิทยา ในหัวข้อเรื่อง "ความสัมพันธ์ลาว-จีนตั้งแต่สมัยจารีต-ค.ศ.1991" (The Relationship Laos - China from the Traditional Period to 1991)

รายงานโดย พิษณุวัฒน์ ยาพรม

การสอบครั้งนี้มี ศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ ธีรศาศวัต เป็นประธานกรรมการสอบและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ ดร.เวียงคำ ชวนอุดม เป็นกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ลาว – จีน นับตั้งแต่สมัยจารีต (ค.ศ. 1353) - ค.ศ. 1991 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ลาว – จีน นับตั้งแต่สมัยจารีต (ค.ศ. 1353) - ค.ศ. 1991 โดยเฉพาะในมิติ "การเมือง" ทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การเป็นพันธมิตร และความขัดแย้ง 

โดยแบ่งช่วงเวลาการนำเสนอออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) ความสัมพันธ์ลาว - จีน ยุคจารีต (คริสต์ศตวรรษที่ 13 - ค.ศ. 1893) 2) ความสัมพันธ์ลาว - จีน ยุครัฐสมัยใหม่ (ค.ศ. 1893 – 1975) และ 3) ความสัมพันธ์ลาว – จีน ยุคสังคมนิยม (ค.ศ. 1975 - 1991) ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 ช่วงเวลา มีจุดร่วมเดียวกัน คือ สถานะความเป็นรัฐใหญ่ของจีนที่มีอำนาจทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจเหนือกว่าลาวในทุกด้าน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ลาว-จีน มีทั้งปัจจัยภายนอก เช่น อิทธิพลของมหาอำนาจ การเกิดของสงครามโลก สงความเย็น และปัจจัยภายในที่มาจาก ผู้นำ รัฐบาล และขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ เป็นต้น 

โดยว่าที่มหาบัณฑิตสอบผ่านการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ในระดับดี (Good) และมีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (หน้าที่ 138-162) จำนวน 1  ชิ้น คือ บทความเรื่อง "ความสัมพันธ์ทางการเมืองลาว – จีน : ภายใต้ระบบบรรณาการสมัยล้านช้าง" ทางหลักสูตรจึงขอแสดงความยินดีกับ นายศิวิลาส มูลเหลา รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตาริกานนท์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ด้วยครับ

ขอบคุณภาพจาก

เศรษฐศาสตร์ วัตรโศก



No comments:

Post a Comment