รายงานโดย ศิวกร ราชชมภู
สำหรับกิจกรรมของโครงการเริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดโครงการโดย ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ฯ) จากนั้นเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของนักศึกษา ซึ่งมีลำดับ และหัวข้อการนำเสนอดังนี้
1. นายสมชาติ ศรีมารัตน์ หัวข้อวิทยานิพนธ์ “ปฏิบัติการของหมอลำเพลินคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงในบริบทอุตสาหกรรมวัฒนธรรมบันเทิง” ประเด็นที่นำเสนอคือ พัฒนาการ และบริบทของหมอลำสาวน้อยเพชรบ้านแพงภายใต้อุตสาหกรรมบันเทิง โดยมี อาจารย์ ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อคิดเห็นคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักชนก ชำนาญมาก และอ.ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
2. Miss Wei Fan หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายใต้โครงการสถาบันขงจื้อในประเทศไทย (ค.ศ.2006 - 2018)” ประเด็นที่นำเสนอคือ การลงสนามวิจัยในสถาบันขงจื่อที่ตั้งอยู่ในหัวเมืองใหญ่ (เชียงใหม่ กรุงเทพ ภูเก็ต และขอนแก่น) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กีรติพร จูตะวิริยะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อคิดเห็นคือ อาจารย์ ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
3. นายอนันตชัย โพธิขำ หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของเหวียตเกี่ยวในเมืองขอนแก่น” ประเด็นที่นำเสนอคือ พัฒนาการของชาวเวียดนามในขอนแก่น และการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชาวเวียดนามในพื้นที่เมืองขอนแก่น โดยมี อ.ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อคิดเห็นคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา
4. นายศรีวิลาส มูลเหลา หัวข้อวิทยานิพนธ์ “ความสัมพันธ์ลาว - จีน นับตั้งแต่สมัยจารีต - ค.ศ.1991” ประเด็นที่นำเสนอคือ ภาพรวมของบทที่ 3 และข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับบรรณาการที่ลาวมีต่อจีน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อคิดเห็นคือ อาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริ
5. นางสาวพิกุล สมัครไทย หัวข้อโครงร่างวิทยานิพนธ์ “พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนสมัยล้านช้างในภาคอีสานตอนบน ระหว่าง พ.ศ.1896 - พ.ศ.2322” ประเด็นที่นำเสนอคือ เนื้อหาภายในโครงร่างวิทยานิพนธ์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการพิจารณาหัวข้อจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อคิดเห็นคือ ศาสตราจารย์ สุวิทย์ ธีรศาศวัต
ในภาพรวมโครงการรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการในฐานะที่เป็นเวทีที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถนำเอาข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ และเพื่อนนักศึกษาไปพัฒนาต่อยอดการทำวิทยานิพนธ์ให้มีความถูกต้อง สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
No comments:
Post a Comment